ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
มะเร็งเต้านม (Breast cancer)
          มะเร็งเต้านม Breast cancer เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทยรองจากมะเร็งปากมดลูกอุบัติการณ์ที่พบเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ผลการรักษาดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวินิจฉัยได้ในระยะเริ่มแรก การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือโดยการถ่ายภาพรังสี หรือที่เรียกว่าแมมโมแกรมมีความหมายในการค้นหาโรคระยะแรกก่อนที่จะมีการแพร่กระจายลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น ๆ

สาเหตุ

          สาเหตุของมะเร็งเต้านม เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหารประเภทไขมันสูง และฮอร์โมนเพศหญิง

ลักษณะของโรค

          เริ่มด้วยการมีก้อนเล็ก ๆที่เต้านม มักไม่มีอาการเจ็บปวด บวม หรืออักเสบ ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อมาอาจคลำพบก้อน เต้านมมีรูปร่างผิดปกติ ผิวหนังบริเวณเต้านมมีลักษณะหยาบและขรุขระ มีการ ดึงรั้งของหัวนม ในบางรายเมื่อบีบหัวนมจะมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลซึม

ใครที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม

          เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย, หมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก, ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุ มากกว่า 30 ปี, มีแม่ พี่น้อง หรือลูก เป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 50 ปี, การใช้ยาคุมกำเนิดตั้งแต่อายุน้อยและใช้ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน, การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือน จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติเล็กน้อย ดังนั้น ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานาน ควรจะรับการตรวจเอกซเรย์เต้านม หรือที่เรียกว่าการทำแมมโมแกรมทุกปี

 

การวินิจฉัยโรค

          มีวิธีการต่างๆ มากมายเพื่อช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม การเอ็กซเรย์เต้านมหรือแมมโมแกรม และการตรวจอัลตร้าซาวน์ (การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง) มีประโยชน์มากในการวินิจฉัยและการรักษา โดยเฉพาะก้อนที่มีขนาดเล็ก คลำไม่ได้ หรืออยู่ลึกในเนื้อเต้านมคลำได้ไม่ชัดเจน
          เมื่อวินิจฉัยได้แล้วควรมีการวินิจฉัยระยะโรคเพื่อวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง โดยต้องประเมินการแพร่กระจายของ มะเร็งที่ไปต่อมน้ำเหลือง ปอด ตับ และกระดูก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีทรวงอก ตรวจอัลตร้าซาวน์ตับ และตรวจกระดูกชนิดสแกนด้วยเภสัชรังสี

การรักษา

          การรักษามะเร็งเต้านมเป็นการรักษาผสมผสานกันระหว่างการผ่าตัด การฉายรังสีรักษา และการให้ยาเคมีบำบัด การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายทำให้ผลการรักษาดีผู้ป่วยมีอายุยืนยาว แพทย์ผู้รักษาจำเป็นต้องเลือกวิธีการและลำดับการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด

รักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดรักษาที่ใช้ในทางปฏิบัติมี 2 วิธี คือ
          1. การผ่าตัดเต้านมออกบางส่วน หมายถึง การตัดก้อนมะเร็ง รวมทั้งเนื้อเต้านมที่ดีที่หุ้มรอบมะเร็งออกด้วยร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก ถ้ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองการผ่าตัดโดยวิธีนี้ต้องฉายรังสีบริเวณเต้านมภายหลังการผ่าตัดทุกรายเพื่อลดโอกาสกลับเป็นใหม่ของมะเร็ง ผลการผ่าตัดโดยวิธีนี้ได้ผลดีพอ ๆ กับการตัดเต้านมออกทั้งเต้า

         2. การตัดเต้านมออกโดยวิธีมาตรฐาน คือ การตัดเนื้อเต้านมทั้งหมดร่วมกับเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก แพทย์จะผ่าตัดด้วยวิธีนี้ในกรณีที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่าวิธีแรก

การผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก
          เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยระยะโรค ซึ่งจะช่วยในการวางแผนการรักษาและพยากรณ์โรคของผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออกเพื่อนำมาตรวจหาการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
การรักษาเสริม
          ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดบางกรณีจำเป็นต้องได้รับการรักษาเสริมเพื่อหวังผลให้ หายหรือมีชีวิตยืนยาวขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การรักษาเสริมประกอบด้วยการฉายรังสีรักษา การให้ยาเคมีบำบัด และการให้ฮอร์โมนรักษา ซึ่งการรักษาแบบผสมผสานดังกล่าวเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี อันจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคหรือมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้

วิธีการป้องกัน
          เนื่องจากการดำเนินของโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม โดยรอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
ความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
          จุดมุ่งหมายของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ก็เพื่อที่จะสามารถตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อการรักษา ทำให้อัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยมีเพิ่มขึ้น และการกลับเป็นใหม่ของโรคลดลง
การตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นทำได้ดังนี้
1. การตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธีเดือนละครั้ง การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ควรตรวจภายใน 7-10 วัน ของรอบเดือน โดยนับจากวันแรกของการมีประจำเดือน หรือ ทุกเดือนหลังจากหมดประจำ เดือนแล้ว การตรวจเต้านมอย่างถูกวิธี จะช่วยให้พบสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มแรกได้ โดยมี้นตอนการตรวจ ดังนี้
ขั้นที่ 1 การตรวจในขณะอาบน้ำ
          ขณะอาบน้ำผิวหนังจะเปียกและลื่น ช่วยให้ตรวจได้ง่ายขึ้นโดยใช้ฝ่ามือนิวมือคลำ และเคลื่อนในลักษณะคลึงเบา ๆ ให้ทั่ว ทุกส่วนของเต้านม เพื่อค้นหา ก้อนหรือเนื้อที่แข็งเป็นไต หลังอาบน้ำเสร็จแล้วจึงทำการตรวจขึ้นต่อไป
ขั้นที่ 2 การตรวจหน้ากระจก
          ก. ยืนตรงมือแนบลำตัวให้สังเกตุเต้านมทั้งสองข้างต่อไปยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ สังเกตลักษณะเต้านมว่ามีการดึงรั้งของผิวหนังบริเวณเต้านมส่วนใด หรือระดับเต้านมเท่ากันหรือไม่
          ข. ยกมือเท้าสะเอว เอามือกดสะโพกแรง ๆ เพื่อให้เกิดการเกร็ง และหดตัวของกล้ามเนื้ออก สังเกตุว่ามีรอยนูนหรือบุ๋มที่ผิวหนังของเต้านมหรือไม่
ขั้นที่ 3 การตรวจในท่านอน
          นอน หงายใช้หมอนใบเล็ก ๆ หนุนใต้สะบักข้างที่จะตรวจให้อกเด่นขึ้น และยกมือไว้ไต้ศีรษะ แล้วใช้ฝ่านิ้วมืออีกข้างหนึ่ง คลำให้ทั่ว ๆ ทุกส่วน ของเต้านมใช้มือซ้ายตรวจเต้านมด้านขวาใช้มือขวาตรวจเต้านมด้านซ้ายในลักษณะ เดียวกัน

          การตรวจเต้านมแต่ละข้าง ให้เริ่มต้นที่บริเวณเต้านมด้านรักแร้ (จุด x ในภาพ) เวียนไปโดยรอบเต้านมแล้วเคลื่อนมือขยับมาเป็นวงแคบ จนถึง บริเวณหัวนม พยายามคลำให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม ตอนสุดท้ายให้กดรอบ ๆ หัวนม หรือบีบ หัวนมเบา ๆ ทั้งสองข้าง เพื่อสังเกตุดูว่ามีน้ำเลือด น้ำหนอง หรือน้ำใส ๆ ออกจากหัวนมหรือไม่

2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์ผู้ชำนาญ ปีละครั้ง ตั้งแต่

3. การตรวจเอกซเรย์เต้านม หรือที่เรียกว่าแมมโมแกรม ปีละครั้งตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th